Home Health กลูโคซามีนกับคอลลาเจน ต่างกันอย่างไร? แบบไหนช่วยรักษาโรคข้อเข่าได้

กลูโคซามีนกับคอลลาเจน ต่างกันอย่างไร? แบบไหนช่วยรักษาโรคข้อเข่าได้

0
กลูโคซามีนกับคอลลาเจน ต่างกันอย่างไร? แบบไหนช่วยรักษาโรคข้อเข่าได้

หลายคนอาจเกิดความสงสัยว่า กลูโคซามีนกับคอลลาเจน ต่างกันอย่างไร และอันไหนช่วยรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมได้ดีกว่า? ซึ่งถ้าหากคุณกำลังหาคำตอบในเรื่องนี้อยู่ล่ะก็ ไม่ต้องไปหาข้อมูลจากที่อื่นให้เสียเวลา เพราะเราได้รวบรวมรายละเอียดที่น่าสนใจมากให้เรียบร้อยแล้ว รับประกันได้เลยว่าร่างกายของคุณจะได้รับการดูแล และรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมได้อย่างตรงจุด ซึ่งจะรายละเอียดเป็นอย่างไร และเป็นประโยชน์มากน้อยแค่ไหน ไปติดตามพร้อม ๆ กับเราได้เลย


ทำไมต้องรู้ว่า กลูโคซามีนกับคอลลาเจน ต่างกันอย่างไร

ทำไมต้องรู้ว่า กลูโคซามีนกับคอลลาเจน ต่างกันอย่างไร

“โรคข้อเข่าเสื่อม” นับเป็นโรคของคนที่มีอายุมากขึ้น หรือคนที่มีอาการปวดเข่าบ่อย ๆ เบื้องต้นมักรักษาอาการดังกล่าวด้วยตัวเอง เช่น ทานยา หรือรับประทานอาหารเสริม แต่ถ้าหากเป็นการรักษาทางการแพทย์ ใน “เบื้องต้น” มักนิยมรักษาด้วยกลูโคซามีนหรืออาจแนะนำคอลลาเจนยี่ห้อไหนดีสำหรับข้อเข่า นั่นจึงเป็นเหตุผลที่เราพยายามรวบรวมข้อมูลมาให้คุณศึกษาว่า กลูโคซามีน กับ คอลลาเจน ต่างกันอย่างไร เพื่อรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมให้ดีขึ้น หรือหายเป็นปลิดทิ้งเมื่อรับประทานอย่างเหมาะสมเป็นเวลาต่อเนื่อง


กลูโคซามีน (Glucosamine)

กลูโคซามีน (Glucosamine)

“กลูโคซามีน” นับเป็นสารตั้งต้นในการสร้างส่วนสำคัญของเนื้อเยื่อหลากหลายชนิด รวมถึงกระดูกอ่อนผิวข้อ เช่น ไกลโคสามิโนไกลแคน, ไกลโคโปรตีน, โปรตีนโอไกลแคน และกรดโฮยาลูโรนิก โดยเฉพาะ “โปรตีนไอไกลแคน” ที่เป็น กลูโคซามีน สรรพคุณ ช่วยให้กระดูกอ่อนผิวข้อมีความยืดหยุ่น สามารถรองรับแรงกระแทกต่าง ๆ ของกระดูกข้อต่อได้เป็นอย่างดี เพราะเมื่อคุณมีอายุที่เพิ่มมากขึ้น กระดูกอ่อนผิวข้อก็เริ่มสึกกร่อน น้ำไขลดลงตามช่วงอายุ ทางการแพทย์นับว่าเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม จึงได้มีการนำเอากลูโคซามีนมาสังเคราะห์ เพื่อชะลอความเสื่อมที่เกิดขึ้น

ในปัจจุบันกลูโคซามีนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ยาอันตรายและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งประเทศไทย (อย.) ในประเทศไทย ได้ขึ้นทะเบียนกลูไคซามีนซัลเฟตเป็นยาอันตราย สำหรับกลุ่มที่ช่วยลดอาหารปวด รวมถึงช่วยชะลอความเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อ หากต้องการรักษาอาการดังกล่าว จะไม่สามารถหาซื้อได้เองตามร้านขายยาทั่วไป แต่จะต้องให้แพทย์เป็นผู้สั่งให้เท่านั้น


ผลลัพธ์จากการใช้กลูโคซามีนในทางการแพทย์

จากการวิจัยและการทดลองใช้กลูโคซามีนในการทางแพทย์ เพื่อรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม ด้วยการให้กลูโคซามีนซัลเฟต วันละ 1,500 มิลลิกรัม เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง 3 ปี ผลปรากฏว่าอาการปวดลดน้อยลง แถมยังช่วยลดการแคบลงของข้อได้เป็นอย่างดี เมื่อเทียบกับการไม่ใช้ยาใด ๆ ในการรักษาเลย หรือในกรณีที่ใช้กลูโคซามีนในระยะสั้น ๆ เป็นเวลา 3-6 เดือน ผลลัพธ์ปรากฏว่าช่วยได้และไม่ได้ ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยแต่ละคนเป็นสำคัญ บางคนเมื่อเทียบกับการไม่ใช้ยาอื่น ๆ ร่วมด้วย ก็ไม่ได้เห็นผลลัพธ์ที่แตกต่างกันอย่างใด

ซึ่งต้องบอกก่อนว่าการใช้กลูโคซามีนในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม เหมาะสำหรับผู้ป่วยในระยะเริ่มต้นเท่านั้น (ระยะ 1-2) เช่น มีอาการปวดเสียวหัวเข่า หรือมีเสียงดังในข้อเข่าและปวดเข่าไปพร้อม ๆ กัน แต่ถ้าหากเป็นกรณีที่ข้อเข่าเสื่อมรุนแรง จนเป็นสาเหตุที่ทำให้ขาโก่ง ขาเอียง หรือร้ายแรงที่สุดคือกระดูกข้อเข่าชนกันโดยไม่มีช่องว่างระหว่างเข่า การใช้กลูโคซามีนในการรักษาจะไม่ได้ช่วยบรรเทาแม้แต่อาการเจ็บปวด


ข้อควรระวังของการใช้กลูโคซามีน

ข้อควรระวังของการใช้กลูโคซามีน

อย่างที่บอกไปแล้วว่ากลูโคซามีนเป็นยาอันตราย ที่สามารถใช้ในเฉพาะแพทย์สั่งเท่านั้น นอกจากนี้ก็ยังมี “ข้อควรระวัง” ที่คุณแจ้งประวัติของตัวเองให้แพทย์ทราบอย่างละเอียด เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นตามมา โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ เช่น ท้องอืด, ท้องเสีย, แสบท้อง, คลื่นไส้ เป็นต้น
  • กลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงเป็นต้อหินชนิดเปิด เนื่องจากการ กลูโคซามีน ผลข้างเคียง จากการรับประทานเป็นเวลานาน ๆ อาจทำให้ความดันภายในลูกตาสูงขึ้น
  • กลุ่มผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้อาหารทะเล เนื่องจากกลูโคซามีนสังเคราะห์จากเปลือกสัตว์ทะเล

คอลลาเจน (Collagen)

คอลลาเจน (Collagen)

“คอลลาเจน” เป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย รวมทั้งกระดูกอ่อนผิวข้อ คอลลาเจน สรรพคุณ ในการเสริมสร้างความแข็งแรงและความยืดหยุ่น การที่คนเราจะต้องรับประทานอาหารเสริมจำพวกคอลลาเจน เป็นเพราะว่าเมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายจะเริ่มผลิตคอลลาเจนลดลง ป้องกันความเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อได้เป็นอย่างดี  ซึ่งประโยชน์ดังกล่าว ส่งผลให้ในปัจจุบันมีคอลลาเจนหลากหลายแบรนด์ออกมาวางจำหน่ายมากมาย

คอลลาเจนที่มักนิยมนำมาใช้กับกระดูกอ่อนผิวข้อและข้อต่อ คือ คอลลาเจน type 2 ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ Collagen hydrolysate และ Undenatured collagen เพราะจากงานวิจัยค้นพบว่าคอลลาเจนทั้ง 2 ประเภท เป็นคอลลาเจนชนิดที่พบในกระดูกอ่อนผิวข้อ แถมยังช่วยกระตุ้นร่างกายให้สังเคราะห์เซลล์ใหม่ เพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ รวมถึงช่วยเพิ่มระดับน้ำไขข้อ และยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่จะย่อยสลายน้ำไขข้ออีกด้วย

นอกจากนี้คอลลาเจนยังช่วยรักษา “โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์” ได้อีกด้วย โดยเฉพาะการใช้คอลลาเจน type 2 ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหลักในกระดูกอ่อนข้อต่อ และสารก่อนภูมิต้านทานที่สำคัญ ทำให้การบำรุงกระดูกด้วยคอลลาเจนส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการบวมและฟกช้ำน้อยลง เมื่อรับประทานคอลลาเจนติดต่อกันนาน 3 เดือน และจากการทดลองใช้คอลลาเจนในกลุ่มผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ 60 คน พบว่า 4 คนอาการทุเลาลงอย่างสมบูรณ์แบบ


ผลลัพธ์จากการใช้คอลลาเจนในทางการแพทย์

จากการศึกษาของ University of Tuebingen ประเทศเยอรมนี ที่ได้ติดตามอาการของผู้ป่วยที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม จำนวน 2,000 คน พบว่ากลุ่มที่บำรุงข้อเข่าด้วยคอลลาเจน (Collagen Hydrolysate) วันละ 5 กรัม ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 3 เดือน สามารถช่วยลดการอักเสบและอาการเจ็บป่วยได้เป็นอย่างดี

แต่ถึงแม้ว่าผลการศึกษาในอดีตตลอดจนปัจจุบัน จะพิสูจน์ได้ว่าคอลลาเจนช่วยให้อาการข้อเข่าเสื่อมดีขึ้นได้ก็จริง แต่เนื่องจากผลิตภัณฑ์ คอลลาเจน 7-11 มีมากมายหลายยี่ห้อ แถมคุณภาพของแต่ละยี่ห้อก็มีความแตกต่างกันออกไป เนื่องจากใช้วัตถุดิบที่หลากหลาย เช่น ปลา, วัว, หมู, กระดูกไก่ และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งไม่สามารถควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบและการผลิตได้อย่างเข้มงวด ทำให้ระบุได้ยากว่าคอลลาเจนยี่ห้อไหนมีผลดีต่อโรคข้อเข่าเสื่อมโดยตรง และเหมาะสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้มากที่สุด


ข้อควรระวังของการใช้คอลลาเจน type 2

ข้อควรระวังของการใช้คอลลาเจน type 2

คอลลาเจน type ค่อนข้างมีความปลอดภัย แต่คำถามที่ว่าควรกินคอลลาเจนวันละเท่าไหร่จะจึงปลอดภัยนั้น ควรรับประทานไม่เกินวันละ 2.5 มิลลิกรัม และไม่นานกว่า 24 สัปดาห์ แต่ก็ยังมีผลข้างเคียงอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน แนะนำให้ระมัดระวังตามรายละเอียดดังนี้

  • ผู้ที่มีอาการแพ้ไก่หรือไข่ แนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้คอลลาเจน type 2 เนื่องจากอาจนำไปสู่การแพ้ได้
  • การใช้คอลลาเจน type ในปริมาณมากเกินความจำเป็น อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่าง ๆ ตามมา ได้แก่ ท้องเสีย ท้องผูก คลื่นไส้ แสบร้อนกลางทรวงอก ปวดศีรษะ ง่วงซึม รวมถึงอาการแพ้ที่ผิวหนัง
  • หญิงตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตรไม่ควรรับประทาน เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลยืนยันความปลอดภัยที่น่าเชื่อถือ

ปวดข้อเข่าหรือข้อเข่าเสื่อมควรเลือก กลูโคซามีนกับคอลลาเจน อะไรดี?

ปวดข้อเข่าหรือข้อเข่าเสื่อมควรเลือก กลูโคซามีนกับคอลลาเจน อะไรดี?

หลังจากที่ได้ทำความเข้าใจรายละเอียดของกลูโคซามีนและคอลลาเจนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่หลายคนก็อาจจะยังไม่ได้คำตอบ เพราะทั้ง 2 สิ่งมีสรรพคุณคล้ายกัน แต่ต้องของอธิบายก่อนว่ากลูโคซามีน เป็นหนึ่งในองค์ประกอบในกระดูกอ่อนของสัตว์ ไม่มีความคงตัว สามารถเสื่อมสลายผ่านกระบวนการย่อยอาหารในร่างกายได้ง่าย ส่งผลให้ร่างกายได้รับกลูโคซามีนค่อนข้างน้อย และบางงานวิจัยยังพบว่าการใช้กลูโคซามีนในทางการแพทย์ เพื่อรักษาผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมนั้น มีผลข้ามเคียงต่าง ๆ ตามมามากมาย แถมยังเพิ่มความเสี่ยงให้กับผู้ที่เป็นโรคต้อหินได้อีกด้วย

ดังนั้นทางการแพทย์จึงนิยมใช้ “คอลลาเจนยูซีทู (UC-II)” คอลลาเจนชนิดที่ 2 ซึ่งสกัดจากกระดูกอ่อนอกไก่ ผลิตและได้รับการรับรองมาตรฐานจีเอ็มพี จากประเทศสหรัฐอเมริกา (GMP certified in USA) ที่มีคุณประโยชน์ครบถ้วน เนื่องจากใช้กระบวนการสกัดที่ไม่ใช่ความร้อน ส่งผลให้คอลลาเจนมีโครงสร้างที่สมบูรณ์มากกว่ากลูโคซามีน

แถมการใช้คอลลาเจนในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการข้อเข่าเสื่อม ไม่จำเป็นจะต้องทานอาหารในปริมาณที่เสริมในประมาณมาก และช่วยให้ข้อเข่าทำงานได้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นการซ่อมแซมข้อที่สึกหรอในระดับเซลล์ และช่วยลดอาการปวด เจ็บ ติดขัด อาการอักเสบของข้อต่าง ๆ ได้ดีอีกด้วย


ผลลัพธ์จากการใช้ กลูโคซามีนกับคอลลาเจน ในเวลาเดียวกัน

จากการใช้คอลลาเจน UC-II VS กลูโคซามีน ในอาสาสมัครจำนวน 150 คน โดยอาสาสมัครกลุ่มแรกได้รับ UC-II ปริมาณ 40 มิลลิกรัม และอาสาสมัครกลุ่มที่ 2 ได้รับกลูโคซามีนประมาณ 1,500 มิลลิกรัม เป็นเวลานานกว่า 90 วัน พบว่ากลุ่มที่ได้รับคอลลาเจน UC-II มีอาการปวดข้อ ข้อเข่าติดน้อยลง รวมถึงมีความยืดหยุ่นดีขึ้น สามารถเดิน ลุก ยืน นั่งได้สะดวกมากกว่าเดิม และเห็นผลลัพธ์ว่าข้อเข่าทำงานดีขึ้นตั้งแต่สัปดาห์แรก เมื่อเทียบกับการใช้กลูโคซามีนในเวลาเดียวกันและระยะเวลาเท่ากัน

นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมทางการแพทย์ถึงนิยมใช้คอลลาเจน ในการรักษาผู้ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม (ระยะเริ่มต้น) อย่างแพร่หลาย เนื่องจากเห็นผลได้เร็วและมีประสิทธิภาพ แถมผู้ป่วยยังไม่ต้องรับอาหารเสริมในปริมาณที่เยอะจนเกินไป เพียงแค่ให้ตามปริมาณที่พอเหมาะพอดีกับร่างกาย ก็ช่วยฟื้นคืนสุขภาพข้อเข่าที่ดีได้อย่างรวดเร็วแล้ว

การป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมต้องยอมรับว่าไม่ใช่เรื่องของผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีเพียงเท่านั้น ในความเป็นจริงแล้วควรเริ่มตั้งแต่ช่วงอายุ 30 ปีขึ้นไป ด้วยการเลือกรับประทานคอลลาเจนในปริมาณที่เพียงพอต่อการทำงานของร่างกาย เพื่อให้ร่างกายสุขภาพแข็งแรง ข้อเข่าไม่เสื่อม รวมถึงช่วยดูแลส่วนอื่น ๆ ของร่างกายอีกด้วย เช่น ผิวพรรณ ความยืดหยุ่นของร่างกาย และความแข็งแรงในส่วนอื่น ๆ เรียกได้ว่าเป็นอาหารเสริมที่ควรค่าแก่การรับประทานมาก ๆ เลยล่ะ


อ้างอิง:

กลูโคซามีน คอนดรอยติน คอลลาเจน กับการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม.  https://kdmshospital.com/article/glucosamine-chondroitin-collagen/

Last Updated on 1 year

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save